นิคมสหกรณ์วังทอง
1. ว่าที่ ร.ต.สมมาตร โกศล นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์วังทอง)
2. นางสาวสุนิษา ผลากอง นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ
แผนงาน ยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม
โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรมรอง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์นิคม
ขั้นที่ 1 ขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด
คณะบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ควรมีตัวแทนในการประสานงานกับสหกรณ์จังหวัด เพื่อให้ได้แนวคิดว่าควรจัดตั้งสหกรณ์หรือไม่ และควรเป็นสหกรณ์ประเภทใด พร้อมคำแนะนำการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ด้วย
***ติดต่อขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ได้ทั่วประเทศ***
ขั้นที่ 2 ประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิก
ผู้ประสานงานในขั้นที่ 1 ต้องจัดประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้
1. คัดเลือกคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ไม่น้อยกว่า 10 คน (ไม่ควรมากกว่า 15 คน)
2. ให้การศึกษาอบรม เรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ วิธีการทำธุรกิจ
3. เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภท และวัตถุประสงค์,แผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์
4. เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างข้อบังคับสหกรณ์
***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 3 ประชุมคณะผู้จัดตั้ง
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งได้รับคัดเลือกจากขั้นที่ 2 ประชุมโดยมีวาระการประชุม ดังนี้
1. เลือกประเภทสหกรณ์ และกำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
2. กำหนดระยะเวลาในการรวบรวมใบสมัครสมาชิก เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิก
3. กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ และควรให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน
4. พิจารณาร่างข้อบังคับสหกรณ์เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพิจารณา
***เชิญสหกรณ์สหกรณ์จังหวัดหรือ ตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 4 ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก
เมื่อคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินการตามขั้นที่ 3 เสร็จแล้ว ต้องประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้
1. พิจารณากำหนดข้อบังคับของสหกรณ์
2. แจ้งประเภทของสหกรณ์ที่ได้เลือก รวมทั้งวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
3. แจ้งแผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์
***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
***เชิญหัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 5 ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสหกรณ์
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องจัดทำเอกสารต่าง ๆ และยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์ โดยยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานสหกรณ์อำเภอ หรือสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่เอกสารที่จะยื่นประกอบด้วย
1. คำขอจดทะเบียนที่คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ได้ลงลายมือชื่อแล้ว
2. สำเนารายงานการประชุม ครั้งละ 2 ชุด คือ
► การประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 2)
► การประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 4)
3. แผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจ หรือกิจกรรมจำนวน 2 ชุด
4. บัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก พร้อมลายมือชื่อและจำนวนหุ้นที่จะถือ จำนวน 2 ชุด
***ข้อบังคับตัวจริง 4 ฉบับ และสำเนา 6*
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์
พระราชกฤษฏีกา
จัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์
ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2500
*******
ภูมิพลอดุลยเดช ป .ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ .ศ . 2500
เป็นปีที่ 12 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และ จังหวัดสมุทรปราการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพุทธศักราช 2485 จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูป สหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
พ.ศ. 2500 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเกลือในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดธนบุรี พุทธศักราช 2485
มาตรา 4 ให้จัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และ จังหวัดสมุทรปราการ ภายในแนวเขตที่ดินตามแผนที่ท้ายพระราช
กฤษฎีกานี้ ซึ่งคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ได้อนุมัติไห้สงวนไว้แล้วตามความในมาตรา 20 (4) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา 5 ให้อธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดำเนินการจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือนี้
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์มีอำนาจแต่งตั้งไม่น้อยกว่า 3 คนเพื่อพิจารณาสอบสวน คัดเลือกบุคคลเข้าครอบครองที่ดินเพื่อเป็นสมาชิกในรูปสหกรณ์
จนกว่าสหกรณ์นั้นจะได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยสหกรณ์แล้ว
มาตรา 7 บุคคลที่จะเข้าครอบครองที่ดินเพื่อเป็นสมาชิกในสหกรณ์นิคมกสิกรรมต้อง
(ก) มีสัญชาติไทย
(ข) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
(ค) ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา 8 บุคคลที่จะเข้าครอบครองที่ดินเพื่อเป็นสมาชิกในสหกรณ์นิคมเกลือต้อง
(ก) มีคุณสมบัติตามมาตรา 7 (ก) (ข) (ค) และ (ฉ)
(ข) เคยทำนาเกลือมาแล้ว
(ค) ไม่มีนาเกลือของตนเอง หรือมีอยู่แล้วเป็นจำนวนเล็กน้อยไม่พอทำกิน
มาตรา 9 ให้อธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินมีอำนาจอนุญาตให้สมาชิกในสหกรณ์เข้าครอบครองทำประโยชน์ ในที่ดินตามมาตรา 4 ตามกำลังแห่งครอบครัวของสมาชิกนั้นไม่ เกินรายละ 50 ไร่
มาตรา 10 ให้เรียกเก็บเงินเพื่อช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปจากสมาชิกซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินนั้น ในอัตราซึ่งอธิดีกรมสหกรณ์ที่ดินจะได้กำหนดไม่เกินไร่ละ 50 บาท โดยผ่อนชำระเป็นรายปี ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ และต้องเริ่มต้นชำระงวดแรกอย่างช้าในปีที่ 5 นับแต่ปีที่ได้เข้าเป็นสมาชิก ถ้าปีใด ไม่สามารถชำระได้ภายในกำหนดโดยมีเหตุผลอันสมควรอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินจะผ่อนผันให้ชำระในปีถัดไปก็ได้
มาตรา 11 เมื่อสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์ใดในนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือ ตามพระราชกฤษฎีกา นี้ ได้ทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้เข้าครอบครองเต็มเนื้อที่แล้ว และ ได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปตามความในมาตรา 10 เสร็จสิ้น ทั้งได้ชำระหนี้ เงินกู้ประเภทระยะเวลายาวซึ่งได้กู้ไปจากสหกรณ์ครบถ้วนแล้ว สมาชิก แต่ละคนมีสิทธิขอหนังสือตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พุทธศักราช 2485 จากอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดิน
มาตรา 12 พระราชกฤษฎีกานี้ไม่กระทบกระทั่งสิทธิในการครอบครองที่ดินของสมาชิกสหกรณ์นิคมกสิกรรมและนิคมเกลือซึ่งได้จดทะเบียนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ
มาตรา 13 เมื่อสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์ใดในนิคมเกลือตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเกลือใน จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดธนบุรี พุทธศักราช 2485 ได้ทำประโยชน์ในที่ดินได้ครอบครองเต็มเนื้อที่แล้ว และได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไป ทั้งได้ชำระหนี้เงินกู้ประเภทระยะเวลายาวซึ่งได้กู้ไปจากสหกรณ์ครบถ้วนแล้ว ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นแล้วให้มีสิทธิตามมาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 14 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
--------------------------------
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากที่ดินที่จัดตั้งสหกรณ์นิคมเกลือซึ่งกรมสหกรณ์ (เดิม) ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้น ตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเกลือในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดธนบุรี พ.ศ. 2485 มีอาณาเขตติดต่อเป็นผืนเดียวกับที่ดินที่กระทรวงการคลังได้เคยหวงห้ามไว้ บางตอนมีคุณภาพเหมาะสมแก่การกสิกรรม และบางตอนก็เหมาะสมแก่การทำนาเกลือ สมควรดำเนินการจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ขึ้นโดยตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2500
คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนที่ 66 วันที่ 6 สิงหาคม 2500 หน้า 1200
ที่ตั้งนิคมสหกรณ์วังทอง
ตั้งอยู่เลขที่ 442 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อำเภอเนินมะปราง
จังหวัดพิษณุโลก 65190 โทรศัพท์ /โทรสาร 0 5599 2127
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก
263 หมู่ 8 ถนนพิษณุโลก - นครสวรรค์ ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์. 0 5598 3567 โทรสาร. 0 5598 3574 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สำนักงานงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก
Copyright © 2023 information Technology Center
ภาพประกอบโดยเว็บไซต์ freepik.com , pixabay.com , flaticon.com